ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2444) เป็นพระราชวงศ์ในราชสกุลลดาวัลย์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ดำรงสมณศักดิ์สุดท้ายที่สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะอรัญวาสี เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง เจ้าอาวาสพระองค์แรกของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดราชบพิธ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชายกระจ่าง เป็นพระโอรสลำดับที่ 3 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่หม่อมหรั่ง ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล จ.ศ. 1204 ซึ่งตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2385 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2386) เวลา 5:23 น. ที่วังถนนราชินีและถนนมหาราชตรงที่เป็นกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพานิชย์ปัจจุบัน (ปัจจุบันเป็นมิวเซียมสยาม) เป็นพระเชษฐาในพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ ในรัชกาลที่ 5 และพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในรัชกาลที่ 7

เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 ขณะพระชันษา 16 ปี ได้ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระศีลาจารย์ ผนวชแล้วประทับที่วัดโสมนัสราชวรวิหารจนพระชันษาครบ 20 ปีจึงลาผนวชเพื่อทำการสมโภชตามประเพณีเป็นเวลา 3 วัน แล้วจึงอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเดือน 8 ปีกุน พ.ศ. 2406 โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับพระนามฉายาว่า "อรุโณ"

ต่อมาทรงทำทัฬหีกรรมที่วัดโสมนัสวิหาร โดยมีสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วประทับที่วัดโสมนัสวิหารจนถึง พ.ศ. 2413 จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จึงได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและจำพรรษาที่นี่ตราบสิ้นพระชนม์

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาอักขรสมัยภาษาไทยและภาษาบาลีที่วัง เมื่อบรรพชาแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ) วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร และพระธรรมราชานุวัตร (ต่าย วารโณ) วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ขณะทั้ง 2 รูปยังเป็นมหาเปรียญ และทรงสอบที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ในปี พ.ศ. 2407 ขณะยังเป็นสามเณร และได้รับพระราชทานตาลปัตรพื้นตาดเปรียญ 5 ประโยคมาแต่ครั้งนั้น

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามพระองค์แรก จึงมีพระภาระสำคัญในการอำนวยการก่อสร้างพระอารามให้ยิ่งใหญ่สวยงามสมเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับกุลบุตรที่เป็นพระราชวงศ์หลายพระองค์ รวมทั้งเป็นคณปูรกะและพระอภิบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวผนวชในปี พ.ศ. 2416 ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตชุดแรก ทรงเป็นแม่กองตรวจชำระพระสุตตันตปิฎกในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. 112 เป็นพระผู้ก่อตั้งและอุปถัมภ์โรงเรียนวัดราชบพิธเมื่อปีระกา สัปตศก จุลศักราช 1247 ตรงกับ รัตนโกสิทร์ศก 104 หรือปี พ.ศ. 2428 ดังปรากฏหลักฐานรายชื่อโรงเรียนวัดราชบพิธ อยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 หน้า 139 ทรงเป็นผู้ช่วยอธิบดีในการสอบไล่พระไตรปิฎกในปี พ.ศ. 2437 และในปี พ.ศ. 2443 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีในการสอบพระปริยัติธรรม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย พ.ศ. 2412 (ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2413 ตามการนับแบบปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าพระกระจ่าง อรุโณ เป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามว่าหม่อมเจ้าพระอรุณนิภาคุณากร

วันศุกร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน พ.ศ. 2430 (ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระธรรมไตรโลก

วันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน พ.ศ. 2430 (ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน) ทรงได้รับสถาปนาเป็น พระวรวงษเธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร สุนทรวิสุทธิพรต อาคาริยยศราชวรพงษ ธำรงสมณคุณวิบุลยศักดิ อรรคปริยัติอรรถโกศล โสภณธรรมาลังการภูสิต คณฤศราธิบดี ทรงศักดินา 3000 ไร่ มีสมณศักดิ์เสมอพระพรหมมุนี

วันพุธ แรม 6 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2436 (ตรงกับวันที่ 29 พฤศจิกายน) ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ เพิ่มพระอิศริยยศเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะธรรมยุติกนิกาย มีราชทินนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร สุนทรวิสุทธิพรต อาคาริยยศราชวรพงษ์ ธำรงสมณคุณวิบุลยศักดิ์ อรรคปริยัติอรรถโกศล วิมลธรรมยุติกคณานุนายก สาสนดิลกบพิตร"

วันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด พ.ศ. 2443 (ตรงกับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตามการนับในปัจจุบัน) ทรงได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสีและเจ้าคณะใหญ่คณะกลาง มีราชทินนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร สุนทรวิสุทธิพรต อาคาริยยศราชวรพงษ ธำรงสมณคุณวิบุลยศักดิ อรรคปริยัติอรรถโกศล วิมลยติโยคนายก สาสนดิลกบพิตร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธจริยาสมบัติ ไตรปิฎกอรรถธรรมโกศล วิมลธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณาธิปัติ มัชฌิมคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสีบพิตร"

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประชวรด้วยพระโรคเดียวกับพระขณิษฐาคือพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา เมื่อทรงทราบว่าพระอัครชายาเธอพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ (ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444) ทำให้ทรงสลดพระทัยจนพระอาการทรุดลงตาม มีพระอาการวิงเวียน อาเจียน อ่อนเพลีย เสียดพระนาภี พระบังคลผิดปกติ เสวยพระกระยาหารไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิดโดยตลอด พระอาการยังทรงกับทรุดจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคอุจจาระธาตุพิการ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2444 แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู สิริพระชันษาได้ 700158000000000000058 ปี 7002306000000000000306 วัน ดำรงสมณเพศได้ 39 พรรษา ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944